โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 38 – นิสัยสมัยใหม่ (3)

ความเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนกับ 3 อาการเหล่านี้ มีความสำคัญมาก เพราะทั้งสามโรคเหล่านี้สะสมคราบ (Plague build-up) ในหลอดเลือด (Artery) ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก (Underlying) ของอัมพาต ทั้ง 2 โรคนี้อาจก่อให้เสียชีวิต (Fatal) ได้ โดยที่ผู้ชายอ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 65% ในการเป็นโรคหัวใจและเพิ่มขึ้นถึง 85% ในการเป็นอัมพาตเมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีน้ำหนักเหมาะสมต่อสุขภาพ

โรคอ้วนยังเชื่อมโยงกับผลกระทบ (Effect) ทางสุขภาพหลายอย่างที่เป็นอิสระ (Independent) จากปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยการมีน้ำหนักเกินไปและโรคอ้วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคมะเร็งอย่างน้อย 17 ประเภท อันได้แก่ (มะเร็งมดลูก Uterine), มะเร็งถุงน้ำดี (Gall-bladder), มะเร็งไต (Kidney), มะเร็งปากมดลูก (Cervix), มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid), มะเร็งเลือด (Leukemia), มะเร็งตับ (Liver), มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon), มะเร็งรังไข่ (Ovarian), และมะเร็งเต้านม (Breast) เป็นต้น

มะเร็งเหล่านี้มีลำดับความสำคัญต่อเนื่อง (Sequential) อันที่จริง มะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่, และมะเร็งมดลูก/ปากมดลูก เป็นสาเหตุอันดับ 2, 5, และ 6 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งในผู้หญิง กว่า 67,000 คนในปี ค.ศ. 2018 ในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (Post-menopausal) โรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมไปถึง 20 ถึง 40%

เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเหมาะสมต่อสุขภาพ (Healthy weight) จากมุมมองของประชากร (Population) ถ้าผู้หญิงที่อ้วนและมีน้ำหนักเกินไปทั้งหมดสามารถบรรลุดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) ที่เหมาะสม จะสามารถป้องกัน 16% ของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน

นั่นหมายความว่ามีคนถึง 6,794 คน จะได้รับการป้องกันการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมต่อปี เพียงด้วยการบริหารจัดการน้ำหนักของตนเองเท่านั้น ผู้หญิงที่อ้วนและมีน้ำหนักเกินไป ยังมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งบริเวณเยื่อบุช่องครอบมดลูก (Inner lining of uterus) สูงขึ้น 2 ถึง 4 เท่า ส่วนผู้หญิงอ้วนเกินที่ BMI สูงขึ้น 5 จุด จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้น 10%

โรคอ้วนมีผลต่อไม่เพียงผู้หญิงและมะเร็งที่เกิดจากปัจจัยเฉพาะของพวกเธอเท่านั้น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้มี ผลต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ที่เห็นเด่นชัด (Notably) คือมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งโดยรวม (Overall)  โดยได้คร่าชีวิตกว่า 52,000 คนในบรรดาชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 2019 คน

คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้นประมาณ 30% ในยุโรป ประมาณ 11% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colo-rectal cancer) มีสาเหตุมาจากปัจจัยน้ำหนักและอ้วนเกิน โดยที่อัตราการอ้วนในสหรัฐอเมริกามีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าในยุโรป ถ้าเราใช้เปอร์เซ็นต์ของยุโรปในการประมาณ (Extrapolate) ตัวเลข (โดยรู้ว่าเปอร์เซ็นต์จริงอาจสูงกว่านี้) เราอาจจะได้ 5,737 คนที่รอดชีวิตในปี ค.ศ. 2018 จากมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยเพียงบริหารเพื่อลดน้ำหนัก (Weight management) ก็พอ

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.